ประเพณีภาคตะวันออก

ประเพณีภาคตะวันออก

ประเพณีเผาข้าวหลาม

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม
          เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ   ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ชาวลาวเวียง” ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา “บุญข้าวหลาม” เป็นประเพณีการทำบุญถวายข้าวหลาม ขนมจีนน้ำยาป่าแด่พระภิกษุสงฆ์ วัดหนองบัว วัดหนองแหน ซึ่งอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ประเพณีนี้มีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3ของทุก ปี เหตุที่ถวายข้าวหลามนั้น อาจเป็นเพราะเดือน 3 เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จึงนำข้าวอันเป็นพืชหลักของตนที่ได้จากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก ซึ่งเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก นำมาทำเป็นอาหาร โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกเป็นวัสดุประกอบในการเผา เพื่อทำให้ข้าวสุก เรียกว่า “ข้าวหลาม” เพื่อนำไปถวายพระภิกษุ

 ประเพณีบวงสรวงศาลหลักเมือง และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

 ประเพณีบวงสรวงศาลหลักเมือง และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
          ขบวนแห่ประชาสัมพันธ์งานสงกรานต์ พิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ชมการแสดงของเยาวชนจังหวัดสระแก้ว ชมการละเล่นพื้นบ้านกีฬาพื้นเมือง การแสดงของผู้สูงอายุ เชิญชวนผู้สูงอายุร่วมตรวจสุขภาพเสริมสร้างสุขภาพ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

งานวันวีรกรรมทหารเรือไทยใน ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
งานวันวีรกรรมทหารเรือไทยใน ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
          ช่วงวันที่ 17-21 หรือวันที่ 23 มกราคม บริเวณอนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง ฝั่งอำเภอแหลมงอบ ร่วมจัดโดยกองทัพเรือ จังหวัดตราด และอำเภอแหลมงอบ เพื่อน้อมรำลึกถึงเกียรติคุณของนายทหารเรือไทยที่เสียชีวิตในการทำ ยุทธนาวีที่เกาะช้างของกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือฝรั่งเศส ในงานมีริ้วขบวนของส่วนราชการ การทำบุญอุทิศ ส่วนกุศล และลอยมาลาสักการะดวงวิญญาณทหารเรือที่เสียชีวิตในครั้งนั้น มีการแสดงนิทรรศการของกองทัพเรือ และส่วนราชการต่าง ๆ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน

งานแห่บั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ
 เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ช่วงเวลาของบุญบั้งไฟคือเดือนพฤษภาคมของทุกปี

ประเพณีกองข้าว

งานประเพณีกองข้าว
          อำเภอศรีราชา เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองชลบุรี ปัจจุบันมีที่อำเภอศรีราชา ที่ยังคงรักษาประเพณีนี้อยู่ โดยจัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ 19-21 เดือน เมษายน ของทุกปี สถานที่จัดอยู่บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลศรีราชา และที่บริเวณเกาะลอยศรีราชากิจกรรมของงานจะประกอบไปด้วย การจัดขบวนแห่ที่นำโดยกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่และหน่วยงานต่าง ๆ ที่แต่งกายด้วยชุดไทยประจำบ้านเข้าร่วมขบวน พิธีบวงสรวงและเซ่นสังเวยผี การสาธิต ประเพณีกองข้าว การละเล่นพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติรัชกาลที่10

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องอาเซียน